มศก.

มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

          มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และโบราณคดีปัจจุบัน เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์การเกษตร ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์ ถือกำเนิดจากโรงเรียนปราณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็นโรงเรียนศิลปากร และเมื่อวันที่12 ตุลาคมพ.ศ. 2486พระยาอนุมานราชธนร่วมกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะ วิทยาการ และภูมิปัญญาเพื่อสังคม มีผลให้งานศิลปะของชาติพัฒนาและก้าวหน้า มีกิจกรรมและวิชาการต่างๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันพ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยศิลปากรมีผู้อำนวยการและอธิการบดีมาแล้ว 18 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช ชื่อ "ศิลปากร" นั้นมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่มีพระบรมราชโองการ ณ วันที่ 27 มีนาคม ร.ศ.130 ว่า “...(ให้) แยกการช่างที่เป็นประณีตศิลปไว้ส่วนหนึ่ง แลให้ยกกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ มารวมกันตั้งขึ้นเป็น กรมศิลปากร‘ มีผู้บัญชาการกรมขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน"


ตราสัญลักษณ์


พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ประกาศใช้เมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ซึ่งคล้ายคลึงกับกรมศิลปากร

ต้นจัน


          ต้นจันเป็นต้นไม้ใหญ่ ผลมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ยืนต้นเก่าแก่อยู่คู่กับวังท่าพระมาช้านาน และยังมีต้นเก่าแก่อีกต้นที่พระตำหนักทับขวัญ พระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ต้นจันเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เป็นที่มาของเพลงกลิ่นจัน ปัจจุบันมีการปลูกต้นจันที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเพิ่มขึ้นด้วย
ดอกแก้ว



          ด้านข้างท้องพระโรง วังท่าพระ มีสวนแก้วอยู่ด้านใน ยามเมื่อดอกแก้วออกดอก จะส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทั้งวัง

คณะในมหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศ.บ.) 5 ปี
-          สาขาวิชาทัศนศิลป์
-          วิชาเอกจิตรกรรม
-          วิชาเอกประติมากรรม
-          วิชาเอกภาพพิมพ์
-          วิชาเอกศิลปะไทย
-          วิชาเอกทฤษฎีศิลป์
-          วิชาเอกสื่อผสม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) 5 ปี
-          สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
-          สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
คณะโบราณคดี
-          ภาควิชาโบราณคดี (สาขาวิชาโบราณคดีสาขาวิชาโทพิพิธภัณฑสถานศึกษา)
-          ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ (สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ)
-          ภาควิชามานุษยวิทยา (สาขาวิชามานุษยวิทยา)
-          ภาควิชาภาษาตะวันออก (สาขาวิชาภาษาไทยสาขาวิชาโทภาษาเขมรสาขาวิชาโทภาษาฮินดีสาขาวิชาโทภาษาบาลีสาขาวิชาโทภาษาสันสกฤต)
-          ภาควิชาภาษาตะวันตก (สาขาวิชาภาษาอังกฤษสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส)
-          หมวดวิชาประวัติศาสตร์ (สาขาวิชาโทประวัติศาสตร์)
คณะมัณฑนศิลป์
หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศ.บ.)
-          สาขาวิชาการออกแบบภายใน
-          สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
-          สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
-          สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
-          สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
-          สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
-          สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย
คณะอักษรศาสตร์
-          ภาควิชาภาษาไทย
-          ภาควิชาภาษาอังกฤษ
-          ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส
-          ภาควิชาภาษาเยอรมัน
-          ภาควิชาประวัติศาสตร์
-          ภาควิชาภูมิศาสตร์
-          ภาควิชานาฏยสังคีต
-          สาขาวิชาการละคร
-          สาขาวิชาสังคีตศิลป์ไทย
-          ภาควิชาปรัชญา
-          ภาควิชาสังคมศาสตร์
-          สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา
-          สาขาวิชารัฐศาสตร์
-          สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
-          สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
-          ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
-          ภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก
-          สาขาวิชาภาษาจีน
-          สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
-          สาขาวิชาภาษาอาหรับ
-          สาขาวิชาภาษาเกาหลี
คณะศึกษาศาสตร์
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)
-          สาขาวิชาภาษาไทย(5 ปี)
-          สาขาวิชาภาษาอังกฤษ(5 ปี)
-          สาขาวิชาสังคมศึกษา(5 ปี)
-          สาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ(5 ปี)
-          สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (4 ปี)
-          สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต (4 ปี)
-          สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (5 ปี)
-          สาขาวิชาการประถมศึกษา (5 ปี)
-          หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
-          สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(4 ปี)
-          หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
-          สาขาวิชาจิตวิทยา(ปี)
คณะวิทยาศาสตร์
-          สาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์
-          สาขาวิชาเอกชีววิทยา
-          สาขาวิชาเอกเคมี
-          สาขาวิชาเอกฟิสิกส์
-          สาขาวิชาเอกสถิติ
-          สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์
-          สาขาวิชาเอกจุลชีววิทยา
-          สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศ
-          สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
-          สาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์ประยุกต์
คณะภาควิชาชีวเภสัชศาสตร์
-          ภาควิชาเภสัชกรรม
-          ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน
-          ภาควิชาเภสัชเคมี
-          ภาควิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา
-          ภาควิชาเภสัชเวท
-          ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
-          ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพเภสัชศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
-          ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ
-          ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร
-          ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
-          ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ
-          ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
-          ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
-          ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
-          สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
-          สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ
-          สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
คณะดุริยางคศาสตร์
-          สาขาวิชาการแสดงดนตรี
-          สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์
-          สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส
คณะวิทยาการจัดการ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
-          สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว
-          สาขาวิชาการจัดการชุมชน
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
-          สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
-          สาขาวิชาการตลาด
-          สาขาวิชาธุรกิจโรงแรมและที่พัก
-          สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
-          สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-          สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ

-          สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ (แบ่งออกเป็น กลุ่มวิชาคือ กลุ่มวิชาการออกแบบเกมส์กลุ่มวิชาการออกแบบแอนนิเมชันกลุ่มวิชาการออกแบบเว็บและสื่อโต้ตอบ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น